ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร 1.1 ที่ตั้ง โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร 20/6 ถนนเทศบาล2 ต.พิบูล อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 34110 โทร.045-204590, 204591 Fax. 045-441553 เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 150 เตียง

1.2 ประวัติโรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร
โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร เริ่มต้นจากการเป็นสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.2479 ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำ
มูล ห่างจากแก่งสะพือมาทางด้านตะวันตกประมาณ 150 เมตร ลักษณะของสถานีอนามัยเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวยก
พื้นสูง 6 ห้อง สร้างด้วยเงินบริจาค 2,700 บาท ในสมัยนั้นผู้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสถานีอนามัยเรียกว่าผู้ช่วงแพทย์
ปี 2479 นายอุดม ภูติจันทร์ เป็นผู้ช่วยแพทย์คนแรก และปฏิบัติงานเพียงคนเดียว
ปี พ.ศ.2493 ได้มีการรณรงค์การรักษาแผนใหม่ โดยการนำผู้ป่วยไปรับบริการที่โรงพยาบาลจังหวัดทำให้
ประชาชนสนใจในการรักษาแผนใหม่มีการรับบริจาคเงินสร้างเรือนคนไข้ขึ้น 8 เตียง
ปี พ.ศ.2505 งานด้านการรักษาพยาบาลเจริญมากขึ้นในช่วงนี้นายแพทย์มะลิ ไทยเหนือ อนามัยจังหวัด
ได้มีนโยบายให้สถานีอนามัยท้องที่แนะนำเรื่องสุขาภิบาลอนามัยแม่และเด็กการควบคุมโรคเรื้อน โดยเฉพาะการ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มีขึ้นคราวละ 2 เดือน ปี พ.ศ.2512 เริ่มก่อสร้างตึกเป็นเรือนแถวไม้ชั้นเดียวมี 10 เตียง เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์การแพทย์และ อนามัยชนบท” ปี พ.ศ. 2520 ยกฐานะเป็นโรงพยาบาล 10 เตียง ปี พ.ศ. 2521 ยกฐานะเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง โดยก่อสร้างขึ้นที่สาธารณประโยชน์ โดยได้รับ งบประมาณก่อสร้างจากทางรัฐบาล 5,600,000 บาท และชาวพิบูลมังสาหารร่วมบริจาคอีก 28,000 บาท รวม ราคาก่อสร้าง 5,628,000 บาท ปี พ.ศ. 2536 พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ ได้บริจาคเงินสร้างตึกผู้ป่วยชายพร้อมมอบครุภัณฑ์ต่างๆ รวม มูลค่า 6,026,530 บาท และยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง ในปีเดียวกัน ปี พ.ศ.2552 ผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง ปี พ.ศ.2558 ก่อสร้างตึกเด็ก จึงได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง ปัจจุบัน ยกฐานะเป็นโรงพยาบาล M2 ขนาด 150 เตียง มีแพทย์เฉพาะทาง 5 สาขา ได้แก่ ศัลยแพทย์,สูตินรีแพทย์,ศัลยกรรมกระดูก, กุมารแพทย์ และวิสัญญีแพทย์ มีประชากรในเขตบริการ 3แสนคน